วันที่ 28 ส.ค. นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงข้อเสนอให้ปรับขึ้นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแวต จาก 7% เป็น 10% เพื่อนำ 3% ที่เพิ่มมาใช้ดูแลสวัสดิการคนวัยเกษียณที่ไม่มีเงินออมนั้น ขอชี้แจงว่าการขึ้นแวตเป็น 10% เป็นแค่แนวคิด เป็นการพูดคุยกันในคณะกรรมการปฏิรูปด้านสังคม โดยต้องทำรายละเอียดค่อนข้างมาก เรื่องดังกล่าวเกิดจากการที่ สศชคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ได้จัดงานสัมมนาเกี่ยวกับสังคมสูงวัย จึงได้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุย และเป็นแนวคิดหนึ่งที่มาลองพิจารณากัน
ทั้งนี้แนวคิดขึ้นภาษีแวตเป็น 10% เป็นเพียงแนวคิดที่อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง นอกเหนือจากใช้งบประมาณแผ่นดินมารองรับสังคมสูงวัย โดยยืนยันว่า สศชคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ยังไม่ได้เสนอเรื่องขึ้นภาษีแวตกับใคร เป็นการพูดคุยในงานสัมมนาให้รับฟังว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน มีความคิดเห็นอย่างไร ซึ่งมองว่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในอนาคต แต่ต้องศึกษารายละเอียดกันค่อนข้างมากในเรื่องระบบ วิธีการจัดการ ข้อกฎหมายต่างๆ
ส่วนในเรื่องเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่เป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย แกนนำจัดตั้งรัฐบาลนั้น มองว่าเป็นเรื่องต้องหารือและดูรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร ต้องดูวิธิปฏิบัติเป็นอย่างไรด้วย ดูรายละเอียดงบประมาณ ภาระการคลัง ต้องหารือกันหลายหน่วยงาน ยังให้ความเห็นเวลานี้ไม่ได้ ซึ่งจะเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 66 ออกมาต่ำกว่าคาด จึงจำเป็นต้องมีมาตรการนี้หรือไม่นั้น มองว่าเศรษฐกิจขยายตัวได้เพียง 1.8% มาจากการส่งออกไทยหดตัว โยงมาถึงภาคการผลิตในอุตสาหกรรมหดตัวด้วย และยังมีเรื่องอุปโภคบริโภคของรัฐบาลที่ปีก่อนมีเรื่องช่วยโควิด แต่ในปีนี้ไม่ได้มีส่วนนี้
นายดนุชา กล่าวว่า เรื่องความกังวลแจกเงินดิจิทัล รวมถึงพักหนี้เอสเอ็มอี หนี้เกษตรกร ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคการเมืองที่ได้จัดตั้งรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารแห่ประเทศไทย (ธปท.) พยายามส่งเสริมปรับโครงสร้างหนี้มากกว่าพักหนี้ ทาง สศช. มองว่าต้องเร่งปรับโครงสร้างหนี้ และไม่ต้องการให้เกิดพฤติกรรมจงใจเบี้ยวหนี้ (มอรัล ฮัดซาร์ด) และปรับโครงสร้างหนี้ยังเป็นมาตรการที่ดำเนินการต่อเนื่อง ทำให้คนเป็นหนี้ สามารถยังชำระหนี้ได้ตลอด ช่วยกำลังการใช้จ่ายของลูกหนี้
อย่างไรก็ตามในเรื่องแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทนั้น ในแง่นี้ต้องคุยกันหลายหน่วยงาน พิจารณากันอย่างถี่ถ้วน เพราะว่าสิ่งที่ออกมาหรือมาตรการที่ออกมา จะต้องดูผลกระทบและผลเชิงบวก โดยต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนว่าจะได้ข้อสรุปเป็นอย่างไรบ้าง
“ในวันนี้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เรียกหน่วยงานต่างๆ หารือ มองว่าเป็นเรื่องปกติที่ทางนายกฯ หลังจากโปรดเกล้าฯ เรียบร้อยแล้ว มีกระบวนการดำเนินการหลายเรื่อง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลด้วยว่า ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ทำอะไรบ้าง และนโยบายจากนี้มีอะไรบ้าง ต้องอธิบายในหลักการต่างๆ รูปแบบเป็นอย่างไร ถือเป็นเรื่องปกติที่พูดคุยกับหน่วยงานของรัฐ”